หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 : แนวคิดเชิงคำนวณ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 : แนวคิดเชิงคำนวณ
มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
มาตรฐาน ว 4.2 เข้าใจและใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริงอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนรู้การทำงานและการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ รู้เท่ากันและมีจริยธรรม
ตัวชี้วัด ว.4.2 ม.2/1 ออกแบบอัลกอริทึมที่ใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหา หรือการทำงานที่พบในชีวิตจริง
จุดประสงค์การเรียนรู้
อธิบายการแก้ปัญหาโดยใช้กระบวนการคิดเชิงคำนวณ ซึ่งประกอบไปด้วยการแบ่งปัญหาใหญ่เป็นปัญหาย่อย การพิจารณารูปแบบ การคิดเชิงนามธรรมและการออกแบบอัลกอริทึม
วิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา โดยใช้กระบวนการคิดเชิงคำนวณ
ออกแบบอัลกอริทึมเพื่อการแก้ปัญหาโดยใช้แนวคิดเชิงคำนวณ
มีความตั้งใจใฝ่รู้และมุ่งมั่นในการทำงาน
สาระสำคัญ
แนวคิดเชิงคำนวณ (computational thinking)
เป็นกระบวนการวิเคราะห์ปัญหา เพื่อให้ได้แนวทางการหาคำตอบอย่างเป็นขั้นตอนที่สามารถนำ ไปปฏิบัติได้โดยบุคคลหรือคอมพิวเตอร์อย่างถูกต้องและแม่นยำ ซึ่งเรียกว่า อัลกอริทึม ทักษะการใช้แนวคิดเชิงคำนวณจึงสำคัญต่อการแก้ปัญหา ช่วยให้สามารถสื่อสารแนวคิดกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงช่วยพัฒนาพื้นฐานในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วย
แนวคิดเชิงคำนวณมีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ส่วน ได้แก่ การแบ่งปัญหาใหญ่เป็นปัญหาย่อย (decomposition) การพิจารณารูปแบบ (pattern recognition) การคิดเชิงนามธรรม (abstraction) และการออกแบบอัลกอริทึม (algorithm)
จัดทำโดย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี (สสวท.)
คลิปจาก Youtube ช่อง C4T Online
คลิปนี้ใช้เพื่อการเรียนการสอนเท่านั้น
เนื้อหาจาก สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี (สสวท.)
คลิปจาก Youtube ช่อง Kru Suwanna
คลิปนี้ใช้เพื่อการเรียนการสอนเท่านั้น
เนื้อหาจาก สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี (สสวท.)
คลิปจาก Youtube ช่อง Kru Suwanna
บอกท่าเต้นอย่างง่ายและกระชับ คลิปนี้ใช้เพื่อการเรียนการสอนเท่านั้น
เนื้อหาจาก สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
คลิปจาก Youtube ช่อง Kru Suwanna
คลิปนี้ใช้เพื่อการเรียนการสอนเท่านั้น
จัดทำโดย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี (สสวท.)
คลิปจาก Youtube ช่อง Kru Suwanna